ความเชี่ยวชาญในกฎหมายการลงทุนใน AEC
การเกิดขึ้นของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of Southeast Asia Nations : ASEAN ) โดยปฏิญญากรุงเทพ
( Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ซึ่งมีประเทศ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็น 5 ประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง และต่อมาได้เพิ่ม ประเทศ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 5 ชาติ รวมทั้งหมด 10 ชาติในปัจจุบัน ซึ่งการก่อตั้งอาเซี่ยนในยุคเริ่มแรกก็เพื่อป้องกันภัยจากการคุกคามของคอมมิวนิสต์และเน้นในเรื่องของความมั่นคงในภูมิภาคในยุคสงครามเย็น ในเวลาต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นโดยการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต และในภูมิภาคเริ่มสงบลงเนื่องจากการสิ้นสุดสงครามการรุกรานกัมพูชาของประเทศเวียดนาม อาเซียนจึงได้ขยายขอบเขตความร่วมมือออกไปเพื่อความเจริญก้าวหน้า ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒธรรม วิทยาศาสตร์ วิชาการ
ในทางด้านเศรษฐกิจนั้น เริ่มแรกจะไม่ค่อยมีความร่วมมือและพัฒนากันเท่าที่ควรเนื่องจาก มีสินค้าเกษตรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้าว น้ำตาล ยางพารา การประมง แต่ต่อมาเมื่อมีการลงทุนจากประเทศนอกภูมิภาค เช่น การลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สหภาพยุโรป และ สหรัฐเมริกา และประกอบกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี่การผลิต ของแต่ละประเทศ ก็ทำให้เริ่มมีการขยายขอบเขตทางการค้าและการลงทุน
การลงทุนใน AEC เป็นการลงทุนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ที่จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของแต่ละรัฐภายในอาเซี่ยน ซึ่ง บริษัท ลีกัล สปิริต จำกัด ของเราได้ทำการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้เรื่องของ การลงทุนในกรอบของ AEC มาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งทางทีมงานนักกฎหมายของบริษัทก็ได้รับเชิญไปบรรยายให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ AEC ให้กับองค์กรสมาคมธุรกิจอุตสาหกรรมชั้นนำ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุนในกรอบของ AEC แก่บริษัทชั้นนำของประเทศไทย เช่น การให้คำปรึกษาแก่บริษัทชั้นนำสื่อสารมวลชนด้านยานยนต์ในการลงทุนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ การแพร่ภาพโทรทัศน์ในอาเซียน
บริษัท ลีกัล สปิริต จำกัด ได้ทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในอาเซียน เป็นเวลานานอย่างเชี่ยวชาญ โดยเราได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ของทีมงานในบริษัทเพื่อเป็นที่มั่นใจแก่ลูกความว่าจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ในการบริการทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกรอบของ AEC
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC มีวัตถุประสงค์ ที่จะก่อให้เกิด การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน การเงิน และแรงงานมีฝีมือ เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อันเกิดจากการแข่งขันและทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนมีความเจริญก้าวหน้าและมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในเวทีโลก
การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกิดขึ้นโดยแผนที่เรียกว่า AEC Blue print ซึ่งเป็นแผนการในการกำหนดกรอบระยะเวลาและมาตรการเพื่อให้เกิดเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยในแผนการนั้นได้กำหนดให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตหนึ่งเดียวกันเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การเงิน การลงทุน อย่างเสรี และปราศจากอุปสรรคทางการค้าอย่างภาษี และอุปสรรคอย่างอื่นที่มิใช่ภาษี ทั้งนี้รวมถึงการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกันในสาขาบริการวิชาชีพ ใน 8 สาขา ได้แก่ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ บัญชี แพทย์ ทันตแพทย์ และการท่องเที่ยว และผลของการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนภายใต้หลักการอนุเคราะห์เยี่ยงคนชาติและหลักการชาติที่ได้รับอนุเคราะห์อย่างยิ่ง ทำให้การเพิ่มสัดส่วนในการถือหุ้นในบริษัทมีความเสรีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนในประเทศอาเซียนได้มากขึ้น ซึ่งทางบริษัท ลีกัล สปิริต จำกัด ก็ได้เตรียมพร้อมที่จะให้บริการทางด้านกฎหมายแก่นักลงทุนไทยที่จะขยายกิจการไปยังประเทศกลุ่มอาเซียน และเช่นกันสำหรับการให้คำปรึกษาในด้านการลงทุนในอาเซียนแก่นักลงทุนต่างชาติ อาทิ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
เรื่องการลงทุนนั้นทางบริษัท ลีกัล สปิริต จำกัด ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยในเรื่องของความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Agreement on Investment: ACIA 2009 ) ซึ่งมีสาระสำคัญ ในเรื่องของ หลักการเปิดเสรีตามความสมัครใจในสาขาและเวลาที่พร้อมแต่ต้องไม่น้อยกว่าที่ผูกพันไว้เดิมตาม AIA ในธุรกิจ 5 สาขา ได้แก่ การเกษตร การประมง การป่าไม้ การเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมการผลิต รวมไปถึงการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ 5 สาขาดังกล่าว และสาขาอื่นที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้ตกลงเพิ่มเติมในภายหลัง นอกจากนี้ การลงทุนตามความตกลง ACIA อาจครอบคลุมการลงทุนทางตรง (foreign direct investment) และการลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio) ก็ได้ โดยผู้ลงทุนอาเซียนที่จะได้ประโยชน์จากความตกลงนี้ อาจได้แก่ นักลงทุนที่มีสัญชาติของประเทศในอาเซียนและนักลงทุนที่มีสัญชาตินอกประเทศอาเซียนแต่มีการประกอบการทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญในประเทศอาเซียน (Substantive Business Operation) ซึ่งประเทศอาเซียนอาจตั้งข้อสงวนจำกัดผู้ได้รับประโยชน์เฉพาะนักลงทุนที่มีสัญชาติอาเซียนเท่านั้นก็ได้ ซึ่งประเทศไทยตั้งข้อสงวนไม่ให้สิทธิตามความตกลงแก่นักลงทุนนอกสัญชาติอาเซียน
ที่กล่าวมาทั้งหมด ทางเราได้เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านการลงทุนสำหรับท่าน ผู้ซึ่งเป็นนักลงทุน เราพร้อมจะให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ท่านและพร้อมนำพาท่านไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน